การพัฒนาและอนุรักษ์ดิน


การพัฒนาและอนุรักษ์ดิน

หลังจากงานจัดพื้นที่ทำกินในระยะแรกนั้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงขยายขอบเขตงานพัฒนาที่ดินด้านอื่น ๆ ออกไป โดยเริ่มงานทางด้านวิชาการมากขึ้นอีก เช่น การวิเคราะห์และการวางแผนการใช้ที่ดินเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเต็มขีดความสามารถ และให้เหมาะสมกับลักษณะสภาพดิน

ทรงแนะให้เกษตรกรทดลองใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่ออนุรักษ์บำรุงรักษาดิน วิธีการส่วนใหญ่เป็นวิธีการตามธรรมชาติที่พยายามสร้างความสมดุลของสภาพแวดล้อมให้เกิดขึ้น เช่น ให้มีการปลูกไม้ใช้สอยรวมกับการปลูกพืชไร่ ซึ่งจะช่วยให้พืชไร่อาศัยร่มเงาของไม้ใช้สอย และได้รับความชุ่มชื้นจากดินมากกว่าที่จะปลูกอยู่กลางแจ้งหรือการปลูกพืชบางชนิด ในพื้นที่ซึ่งดินไม่ดี แต่พืชดังกล่าวให้ประโยชน์ในการบำรุงดินให้ดีขึ้นโดยไม่ต้องลงทุนใช้ปุ๋ยเคมี พื้นที่บางแห่งซึ่งไม่เหมาะสมเลยสำหรับทำการเกษตรก็เห็นควรจะใช้ประโยชน์ในทางอื่น เช่น ฟื้นฟูขึ้นมาเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

ในระยะต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้หันมาสนพระทัยงานพัฒนาที่ดินที่มีสภาพธรรมชาติและปัญหาที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละภูมิภาค จึงมีพระราชดำริเกี่ยวกับงานแก้ไขปัญหาที่ดินที่เน้นเฉพาะเรื่องมากขึ้น เช่น งานทดลองวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาดินเค็ม ดินเปรี้ยว ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัญหาดินพรุในภาคใต้และที่ดินชายฝั่งทะเล รวมทั้งงานเกี่ยวกับการแก้ไขปรับปรุงและบำรุงรักษาดินที่เสื่อมโทรมฟังทลายจากการชะล้างที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปอีกด้วย

โครงการต่าง ๆ ในระยะหลังจึงเป็นการรวบรวมความรู้ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ และนำเอาการพัฒนาหลายหลากสาขามาใช้ร่วมกันและที่ปรากฎออกมาเป็นตัวแบบที่ชัดเจนก็คือ แนวคิดและตัวอย่างงานพัฒนาที่ดินในศูนย์ศึกษาการพัฒนาหลายแห่ง เช่น แบบจำลองการพัฒนาพื้นที่ที่มีสภาพขาดความอุดมสมบูรณ์ และมีปัญหาการชะล้างพังทลายของดินในศูนย์ศึกษาพัฒนาเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา งานศึกษาวิจัยและพัฒนาพื้นที่ดินพรุในศูนย์ศึกษาพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส และงานพัฒนาที่ดินชายทะเลในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี เป็นต้น

ขอขอบคุณที่มาข้อมูล: https://web.ku.ac.th/king72/2533/earth03.html
Share on Google Plus

About test

This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel.
    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น